|
||||
“แว่นตาทารก” คลายกังวลผู้ปกครอง โดย โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
||||
ปัจจุบันพบว่าทารกแรกเกิดมักมีภาวะตัวเหลือง (Neonatal jaundice) จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการส่องไฟ (Phototherapy) ดังนั้นจึงต้องปิดตาเด็กเพื่อป้องกันแสงไฟทำอันตรายกับดวงตา แต่ก็มักมีข่าวออกมาว่าเด็กตาบอดบ้างเพราะเด็กดิ้นทำให้ผ้าปิดตาหลุดบ่อย จากสถิติทารก 4 คนที่ได้รับการส่องไฟเดือนกันยายน 2554 พบว่าเกิดแผลผื่นแพ้พลาสเตอร์คิดเป็นร้อยละ 15.38 (ทารกแรกเกิดเดือนกันยายน 2554 จำนวน 26 ราย) จึงทำให้การรักษาด้วยวิธีการส่องไฟมีประสิทธิภาพน้อย มีปัญหาทางสายตาบ้าง ทำให้เกิดความกังวลใจต่อผู้ปกครองของเด็กเป็นอันมาก |
||||
ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้กลุ่มหอผู้ป่วยพิเศษ 5 ตะวันออก ของโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดตั้งกลุ่ม “Young Creative” ขึ้น และมีแนวคิดว่า ทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ไม่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องจากผู้ปกครอง ดังนั้นจึงได้จัดทำนวัตกรรมเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อดวงตาจากแสงไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันการเกิดผื่นคันแพ้พลาสเตอร์ ป้องกันการเลื่อนหลุดของผ้าปิดตาเด็ก ลดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง และเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดแนวคิดในการทำ “แว่นตา รักษากาย” โดยใช้ผ้าเย็บสองชั้น ด้านหน้าเปิดช่องสำหรับใส่แผ่นฟิล์มเอกซเรย์ที่ตัดขนาดเหมาะสมกับขอบแว่นตา ผ้าด้านในอยู่ชิดขอบตาของทารกไม่มีรอยต่อของผ้า ป้องกันการระคายเคืองต่อดวงตาของทารก ส่วนความยาวแล้วแต่ขนาดของศีรษะทารก ใช้ตัวล็อคปลายสองข้างของแว่นตาด้วยวัสดุที่ไม่เกิดอันตรายต่อทารก จากนั้นใช้ผ้าคาดผมขนาดพอเหมาะสำหรับทารก คาดทับแว่นตาเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของแว่นตาเมื่อทารกดิ้น เพียงเท่านี้ผู้ปกครองก็สบายใจ คลายกังวลจากอันตรายของแสงไฟต่อดวงตาในลูกน้อยได้แล้ว...
|
||||